บทที่๒ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้

แนวคิดการจัดการความรู้

           หมายถึง การรับรู้ความจริง สร้างความรู้ สังเคราะห์ ความรู้ให้เหมาะสมกับงาน เป็นกระบวนการเฉพาะที่เป็นระบบและ มีโครงสร้างเพื่อการได้มา รวบรวม และการสื่อสารความรู้ที่ลึกซึ้งจับต้องได้ยาก และยังเป็นกลยุทธ์ในการที่จะทำให้คนได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เพื่อพัฒนาความรู้เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เพื่อยกระดับและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร.

The SECI Model

              คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้สึกฝังลึก (Tacit  Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักรเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน(Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรกเพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน

ข้ออธิบาย 
Tacit knowledge เป็นความรู้ฝั่งลึก ความรู้ติดตัวจากผู้ชำนาญ ทักษะประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ
Explicit knowledge เป็นความรู้ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือหรือแหล่งความรู้อื่นๆที่มีการเผยแพร่หรือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง


ขั้นตอนที่1 

  การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Socialization) การแบ่งปันและสร้างความรู้โดยนัย จากความรู้โดยนัยผู้ที่สื่อสารกัน โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรง เช่น นักมวยไทย ได้เรียนรู้เทคนิคการต่อยมวยใหม่ๆเพื่อเป็นแชมป์และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากนักมวยระดับแชมป์โลก โดยการทำความรู้จักพูดคุยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันแลกเปลี่ยนกลยุทธ์การต่อสู้เพื่อได้รับความรู้มาเป็นของตัวเองและใช้ในการต่อสู้เป็นขั้นตอนการสร้าง (Tacit knowledge) ใหม่
รูปแบบ Tacit knowledgeTacit knowledge

ขั้นตอนที่2 

  การปรับเปลี่ยนสู่ภายนอก (Externalization) การสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่เผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการแปลงความรู้โดยนัยเป็น ความรู้ที่ชัดแจ้ง เช่น นักมวยไทย หลังจากได้เรียนรู้เทคนิคการต่อสู้จากแชมป์โลกข้างต้น ก็มาทำการเขียนหนังสือ มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เอกสาร หรือรายงานต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้คนที่สนใจทั่วไป 
รูปแบบ Tacit knowledgeExplicit knowledge

ขั้นตอนที่3

  การผสมผสาน (Cornbination) เป็นการแปลงความรู้ที่ชัดแจ้ง จากความรู้ที่ชัดแจ้ง โดยรวบรวมความรู้ที่ชัดแจ้งมาสร้างเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งใหม่ๆ เช่น กรณีนักมวยไทย ซึ่งต่อมาได้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์การต่อสู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายจากแหล่งต่างๆ จากตำรา อินเตอร์เน็ต สื่ออื่นๆ  แล้วสรุป และเผยแพร่เป็นเทคนิคการต่อสู้แบบใหม่ ซึ่งเกิดจาการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และความรู้ของตัวเอง
เป็นขั้นตอนการสร้าง(Explicit knowledge) ใหม่
รูปแบบ Explicit knowledgeExplicit knowledge

ขั้นตอนที่4 

  การปรับเปลี่ยนสู่ภายใน (Internalization) เป็นการแปลงความรู้ที่ชัดแจ้งมาเป็นความรู้โดยนัย มักจะเกิดจากการนำความรู้ที่เรียนมาปฏิบัติ เช่น หลังจากนักมวยไทยคนอื่นๆ เช่น นักมวยไทยB นักมวยไทยC หรือ D และ E ศึกษาเทคนิคการต่อสู้จากตำรา (ซึ่งอาจจะรวมถึงหนังสือที่นักมวยไทยA ที่ได้เขียนไว้ก็ได้) แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการต่อยมวยของตนเองจนทำให้เกิดทักษะและความชำนาญในเรื่องเทคนิคการต่อยมวยของตนเองในที่สุดและเมื่อนำความรู้ไปแลกเปลี่ยนกับนักมวยคนอื่นๆ ต่อไปก็จะเรียกว่า การรับความรู้ภายในสู่ภายใน (Socialization ขั้นตอนที่1) คือ การแปลงความรู้โดยนัยจากนักมวยคนนั้นๆ ไปเป็น ความรู้โดยนัยของนักมวยคนอื่นต่อไป โดยการจัดสัมนาโดยมีผู้เชี่ยวชาญมาอธิบายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เป็นต้น เป็นกระบวนการที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดเป็นขั้นตอนการสร้าง (Tacit knowledge) ใหม่
รูปแบบ Explicit knowledge Tacit knowledge

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่๑ แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

บทที่๔ องค์กรแห่งการเรียนรู้

บทที่๓ กระบวนการจัดการความรู้